การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกับแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษในจังหวัดภูมิภาค

15 กรกฎาคม 2567

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้เปิดให้บริการทางพิเศษไปแล้ว 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษประจิมรัถยา และมีโครงการสำคัญเร่งด่วนที่กำลังดำเนินการ 3 โครงการ คือ

1. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวานรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร กำหนดเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2568

2. โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 16.2 กิโลเมตร ที่อยู่ระหว่างดำเนินการหาผู้รับจ้างดำเนินการ

3. โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 ตอน N2  ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเสนอ ครม. ขออนุมัติดำเนินโครงการฯ

นอกจาก การให้บริการทางพิเศษ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล กทพ. ยังได้มีแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษในจังหวัดภูมิภาค ได้แก่

1. โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ระยะที่ 1 (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 17 กิโลเมตร 

2. โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 3.98 กิโลเมตร

3. โครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 30 กิโลเมตร

4. โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อยู่ระหว่างศึกษา สำรวจ และออกแบบในด้านต่าง ๆ)

5. โครงการทางพิเศษเกาะแก้ว จังหวัดตราด (อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ)

ที่มา : กองประชาสัมพันธ์ สำนักผู้ว่าการ https://www.exat.co.th/exat-51th-anniversary-27112566/

ข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม
845 VIEW
วีดีทัศน์แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย
วีดีทัศน์แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

เกาะสมุย เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้" แต่ในปัจจุบันสามารถเดินทางมายังเกาะสมุยได้เพียงทางอากาศและทางน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านปริมาณและจำนวนเที่ยวในการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้ามรสุมที่ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือ ดังนั้น การมีทางเชื่อมข้ามเกาะสมุยจะเป็นอีกทางหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอกภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายให้กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บูรณาการดำเนินงานร่วมกัน โดยโครงข่ายทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุยเป็นโครงการหนึ่งในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการบูรณาการการพัฒนานวัตกรรมและโครงข่ายทางถนนร่วมกัน ซึ่งมอบหมายให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

12 สิงหาคม 2566