ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อเกาะสมุย ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

8 กรกฎาคม 2566

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อเกาะสมุย ณ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนงาน นางสาวณัฐฐา กาสี ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงและให้ข้อมูลรายละเอียดโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย กับ นายอภินันท์  เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการฯ ดังนี้

1)   เส้นทางเลือกทั้ง 6 เส้นทาง พบว่ามีเพียงแค่แนวเส้นที่ 4 ที่ไม่ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ โดยเส้นที่ 1, เส้นที่ 2, เส้นที่ 3, เส้นที่ 5 และเส้นที่ 6 ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ดังนี้

  • เส้นที่ 1 ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติฯ 155 เมตร
  • เส้นที่ 2 ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติฯ 155 เมตร
  • เส้นที่ 3 ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติฯ 2,395 เมตร
  • เส้นที่ 5 ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติฯ 1,555 เมตร
  • เส้นที่ 6 ผ่านพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติฯ 2,550 เมตร

2)   เส้นทางเลือกเส้นที่ 4-6 ที่มีแนวผ่านใกล้เคียงพื้นที่เกาะแตน จะมีปัญหาเรื่องแนวทางส่งไฟฟ้า เส้นที่สามารถเป็นไปได้มากกว่า คือ เส้นที่ 1-3

3)   มีความกังวลในเส้นทางเลือกเส้นที่ 2-6 เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญของโลมาสีชมพู ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากที่สำคัญพื้นที่ ดังนั้น อยากให้พิจารณาแนวเส้นทางให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบดังกล่าว

4)   ในการขออนุญาตเข้าพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติให้เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

5)   สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ให้ข้อคิดเห็น 3 เรื่องดังนี้

  • ต้องการให้ตรวจสอบระบบใต้น้ำให้ละเอียด รวมถึงสายเคเบิล สายไฟฟ้า ท่อประปาที่วางอยู่ใต้น้ำ
  • ต้องการให้ตรวจสอบเส้นทางเดินเรือชายฝั่งในทุก ๆ ประเภท ให้ทราบถึงความสูงของเรือ เพื่อใช้
    ในการออกแบบความสูงของท้องสะพานที่ถูกต้องและเหมาะสม เรือทุกประเภทที่ใช้ในพื้นที่สามารถ
    เดินทางผ่านได้
  • ควรพิจารณาความสูงเรือของกองทัพ และเรือตำรวจน้ำ ในการออกแบบความสูงของท้องสะพาน
    ให้เรือชนิดดังกล่าวสามารถเดินเรือผ่านสะพานได้

6)   สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 (นครศรีธรรมราช) ให้ข้อคิดเห็นดังนี้

  • ขอให้สำรวจและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดแนวเส้นทาง ในกรณีแนวเส้นทางผ่านพื้นที่
    ป่าสงวน ต้องดำเนินการขออนุญาตเข้าศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (มาตรา 17) ส่วนถ้าหากเป็นพื้นที่ป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ต้องดำเนินการขออนุญาต
    เข้าศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558

7)   แนวเส้นทางที่ผ่านป่าชายเลน ต้องดำเนินการขออนุญาตให้เข้าไปศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (มาตรา 17) ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ต่อสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช

8)   กรมทางหลวง ให้ข้อคิดเห็นเรื่องเขตทางสาย 4142 สามารถขยายเขตทางได้ข้างละ 15 เมตร ซึ่งมีความพร้อมสำหรับรองรับการจราจร

ข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม
1,190 VIEW
แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย
แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

ผู้ว่าการ กทพ. นำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เกาะสมุย เพื่อแนะนำและรับฟังความคิดเห็นประชาชน โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2566 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย ห้องประชุมเพชรสมุย เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุยกล่าวต้อนรับคณะผู้ว่าการการทางพิเศษฯ และผู้เข้ารับฟังการบรรยายทุกท่าน พร้อมทั้งกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดบรรยายครั้งนี้

8 กรกฎาคม 2566
1,038 VIEW
วีดีทัศน์แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย
วีดีทัศน์แนะนำโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

เกาะสมุย เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้" แต่ในปัจจุบันสามารถเดินทางมายังเกาะสมุยได้เพียงทางอากาศและทางน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านปริมาณและจำนวนเที่ยวในการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้ามรสุมที่ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือ ดังนั้น การมีทางเชื่อมข้ามเกาะสมุยจะเป็นอีกทางหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอกภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายให้กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บูรณาการดำเนินงานร่วมกัน โดยโครงข่ายทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุยเป็นโครงการหนึ่งในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการบูรณาการการพัฒนานวัตกรรมและโครงข่ายทางถนนร่วมกัน ซึ่งมอบหมายให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย

12 สิงหาคม 2566